2011/08/25

Object Pascal - ค่าคงที่

สวัสดีครับ เจอกันอีกแล้วนะครับ ;)

ก่อนอื่นผมขอเฉลยการบ้านของเมื่อวานนะครับ

3) ข้อนี้ทำเหมือนในตัวอย่างเลยครับ



4) ข้อนี้ก็ไม่มีอะไรครับ ให้รับข้อมูลเป็นแบบ string แทน



เป็นยังไงบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมหล่ะ :)

มาเข้าเรื่องของวันนี้ดีกว่าครับ
    ซึ่งก็คือเรื่อง ...  ค่าคงที่ ยังไงหล่ะครับ ^_^

แล้วไอค่าคงที่มันคืออะไรหล่ะ ?
    มันก็เหมือนกับตัวแปรที่เก็บค่า ๆ เดียวตลอดการทำงานของโปรแกรม โดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนค่าของมันได้
    ตัวอย่างเช่น ค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ เช่น ค่า พาย มีค่าประมาณ 3.14159265358979324
เราอาจจะประกาศค่าคงที่ Pi = 3.14159265358979324 ไปเลย
วิธีการประกาศง่ายกว่าการประกาศตัวแปรอีกครับ

const
   Pi = 3.14159265358979324;

หรือจะกำหนดชนิดของค่าคงที่ก็ได้ เช่น
const
   Pi : Double = 3.14;

ลองดูตัวอย่างโปรแกรมเลยครับ


    ส่วนใหญ่แล้ว ชื่อค่าคงที่จะใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้มีกฎอะไร ที่ให้ใช้ตัวใหญ่เพราะเราจะได้แยกความแตกต่างระหว่างตัวแปรกับค่าคงที่ได้ แต่ในภาษา Object Pascal จะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่ กับตัวเล็กถือเป็นตัวเดียวกับ เช่น A กับ a เป็นตัวเดียวกัน
    เราจึงสามารถเขียนฟังก์ชัน Writeln เป็น writeln หรือ WriteLn หรือ WRITELN หรือ wrITeLN ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน
    เรายังสามารถพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันก็ได้ แต่อย่าลืมใส่ ; (Semi-Colon) ปิดท้ายด้วยหล่ะ
    เช่น เราจะพิมพ์ว่า
   Write('Input: '); Readln(R); Ans = R * R; Writeln('Ans = ', R:0:2);
    แบบนี้ก็ไม่ผิดครับ แต่จะทำให้เราอ่านยาก เวลาเขียนโปรแกรมจึงควรจะพิมพ์ให้เราอ่านง่ายมากที่สุด

    หัวข้อของวันนี้ก็จบลงเพียงเท่านี้
    เรื่องนี้ไม่มีอะไรยากครับ วันนี้ผมขอไม่ให้การบ้านนะครับ ^_^ พอดีพึ่งกลับมาถึงบ้าน คิดโจทย์ไม่ทัน ต้องขออภัย สำหรับคนที่รอ
    ส่วนพรุ่งนี้ผมกลับดึกมาก คงไม่ได้มาเขียนต่อ ยังไงก็ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยนะครับ

สำหรับวันนี้ก็ สวัสดีครับ

No comments:

Post a Comment